โดย วิริทธิ์พล กีรติวิชุกร ที่ปรึกษาการเงิน AFPT
เวลาพูดถึงประกันชีวิต คงเคยได้ยินบางคนบอกว่ามีเยอะแล้ว เข้าแบงค์ทีก็มีเพิ่มมาเล่มนึง เราเคยมานั่งคิดจริงๆ ไหมครับว่า ประกันชีวิตสำหรับตัวเราเองมีไว้ทำอะไร และมีเท่าไรเรียกว่าพอ วันนี้จะมาชวนคิดกันเรื่องนี้ครับ
คนเราทำประกันชีวิตด้วยหลากหลายความต้องการ บ้างก็ทำเพื่อลดภาษี พยายามให้ได้ครบ 1 แสน พอดีแบบไม่ขาดไม่เกินพอส่งครบก็หาเติมอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ ทุกปี อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ทางภาษีที่เราได้จากการทำประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพตามเงื่อนไขที่ทางรัฐเปิดสิทธิให้ แต่เราเคยมาย้อนดูไหมครับว่าจริงๆ เราทำประกันชีวิตเพระต้องการความคุ้มครองจากประกันชีวิตจริงๆ รึเปล่า ก่อนจะทำประกันชีวิตอยากให้ทุกคนลองพิจารณาจากคำถามเหล่านี้กับตัวเองก่อน
ทั้งสองคำถาม จะนำมาสู่การคำนวณว่าเราควรมีประกันชีวิตหรือค่าตัวเท่าไรในวันนี้และอนาคต ซึ่งอาจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อเป็นเกณฑ์หรือนำมารวมกันก็ได้ครับถ้าเรามีกำลังมากพอ เพราะ โดยปกติตัวเลขของข้อ 2 มักจะมากกว่าข้อ 1 โดยเฉพาะคนที่มีเวลาทำงานเหลืออยู่ยาวๆและรายได้สูงๆ
เมื่อเราได้ตัวเลขที่ต้องการแล้ว ข้อสำคัญคือการนำตัวเลขดังกล่าวมาหักลบกับทรัพย์สินที่เราเตรียมไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเลือกคำนวณทุนประกันชีวิตแบบข้อ 1 ของผู้ชายวัย 43 ปี เป็นหัวหน้าครอบครัว
หัก ทรัพย์สินที่เตรียมไว้แล้ว มูลค่า 5 ล้านบาท (ไม่รวมที่อยู่อาศัย)
คงเหลือ มูลค่าทุนประกันที่ขาดอยู่ 8 ล้านบาท
เมื่อได้ตัวเลขเป้าหมายแล้ว จึงนำไปเลือกแบบประกันและเบี้ยประกันที่ตอบโจทย์กับความต้องการต่อไป ซึ่งในที่นี้จะขอเปรียบเทียบแบบประกันชีวิต 2 แบบหลักๆ ที่นิยมนำมาใช้เพื่อการวางแผนค่าตัวหรือประกันชีวิต ระหว่างแบบตลอดชีพและยูนิตลิ้งค์ โดยมีใจความสำคัญของแต่ละ แบบดังนี้
ในขณะที่แบบประกันประเภทยูนิตลิ้งค์ จะมีมิติความแตกต่างกันในอีกรูปแบบ คือ
เมื่อเทียบกัน 2 แบบ ระหว่าง ประกันชีวิตแบบตลอดชีพและยูนิตลิ้งค์ จะพบได้ว่าเราสามารถเลือกให้สอดรับกับความต้องการทุนประกันชีวิตที่แตกต่างของเราได้ โดยคนที่ชอบความแน่นอน คือกำหนดระยะเวลาส่งเบี้ยและความคุ้มครองที่คงที่ตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของชีวิต อาจตัดสินใจเลือกแบบประกันตลอดชีพทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่เราอาจจะต้องนำมาพิจารณาคือค่าเบี้ยประกัน ซึ่งมักสูงกว่าเบี้ยประกันชีวิตแบบยูนิตลิ้งค์กว่า 2 เท่า โดยประมาณ ( ขึ้นอยู่กับอายุและเพศ ) จากกรณีที่ยกตัวอย่างข้างต้น ชายอายุ 43 ปี มีความต้องการทุนประกัน ส่วนขาดอยู่ 8 ล้านบาท เมื่อพิจารณาจากเบี้ยประกันด้วยทุนประกันที่เท่ากัน จะพบว่า เบี้ยประกันแบบตลอดชีพ ตกอยู่ราว 2 แสนสองหมื่นกว่าบาท ในขณะที่ประกันชีวิตแบบยูนิตลิ้งค์ มีค่าเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 1 แสนสองหมื่นบาท ถ้าเปรียบเทียบโดยมองมุมนี้ดูเหมือนว่ายูนิตลิ้งค์ จะได้เปรียบและมีความน่าสนใจสำหรับคนที่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังในการส่งเบี้ย แต่เราต้องมองมุมอื่นๆประกอบด้วย เช่น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะทำให้ทุนประกันชีวิตในยูนิตลิ้งค์ไม่สามารถคงระดับความคุ้มครองให้สูงอยู่ตั้งแต่แรกจนตลอดไปได้ โดยเฉพาะในช่วงอายุสูงๆต้นทุนค่าใช้จ่ายการประกันภัย ที่จัดเก็บจากลูกค้าจะสูงมาก หากมูลค่ากองทุนที่ซื้อไว้ไม่ได้เติบโตจนมีมูลค่ามากพอ ก็จะถูกหักค่าใช้จ่ายจนหมดเสียก่อน ดังนั้นการใช้ประกันชีวิตแบบยูนิตลิ้งค์เพื่อปกป้องความเสี่ยงภัยกับหัวหน้าครอบครัวหรือผู้ที่มีรายได้หรือค่าความสามารถสูงๆจึงนิยมทำทุนประกันสูงเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่มีความจำเป็นหรือมีส่วนขาดระหว่างเป้าหมายและทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อเติมเต็มช่องว่างดังกล่าวหากประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แต่เมื่อหลังจากผ่านพ้นช่วงเวลานั้นแล้ว เช่นสะสมทรัพย์สินได้ใกล้เคียงเป้าหมายทางการเงินและภาระความจำเป็นแล้ว หรือภาระหนี้สินลดลงจนสามารถจัดการได้คล่องตัวขึ้นมีส่วนต่างไม่มากนัก ก็สามารถปรับลดทุนประกันลงมา เพื่อให้เงินค่าเบี้ยที่ชำระเข้ามาแต่ละปีไปลงในสัดส่วนของการลงทุนเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้กองทุนในยูนิตลิ้งค์เติบโตได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเงินทุนที่จะออกแบบเพื่อใช้งานด้านอื่นๆได้เช่น การเกษียณ เป็นต้น
ทางเลือกของประกันชีวิต จริงๆ แล้วอาจไม่ได้มีแค่สองทางที่เขียนมาข้างต้น ทางเลือกใช้ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาก็สามารถทำได้ คือยอมเสียค่าเบี้ยเหมือนกับประกันรถยนตร์ที่จ่ายทิ้งไปปีต่อปี โดยไม่ต้องนำเรื่องมูลค่าของกรมธรรม์มาเป็นปัจจัยหลัก เพราะจุดประสงค์คือความคุ้มครองที่ต้องการ ซึ่งทางเลือกแบบนี้ข้อดีคือค่าเบี้ยประกันจะน้อยกว่าสองแบบแรก และกำหนดระยะเวลาคุ้มครองตามที่ต้องการได้ตามความจำเป็น ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกทางไหนลองประเมินดูตัวเองกันก่อนนะครับว่าเรามีความจำเป็นที่ต้องมีประกันชีวิตมูลค่าเท่าไร และเรามีงบที่จะจ่ายค่าเบี้ยได้เท่าไร “การทำประกันชีวิตก็เหมือนการเลือกรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคร้าย วัคซีนที่ดีที่สุดคือวัคซีนที่เหมาะกับเราในปริมาณที่เหมาะสม และสามารถป้องกันโรคร้ายนั้นได้นะครับ” ด้วยหวังว่าเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ก็จะสามารถหาแนวทางในการเลือกวัคซีนการเงินที่รองรับความเสี่ยงภัยได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th