โดย ภก.ธริญญ์รัฐ ปิยะศิริโสฬส ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
เมื่อพูดถึงการลงทุนในกองทุนรวม คำที่มักได้ยินควบคู่กันไป คือ Dollar Cost Averaging หรือ DCA ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม นอกจาก DCA แล้ว ยังมีกลยุทธ์อื่น ๆ อีกหลายอย่าง
“กลยุทธ์การลงทุน” คือ แนวทางในการนำเงินลงทุนมาซื้อสินทรัพย์ลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในแผนการลงทุน ลดความผันผวนของตลาด หรือเพิ่มโอกาสการทำกำไร ซึ่งแต่ละกลยุทธ์ก็จะมีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน เนื่องจากความแตกต่างกันของระยะเวลาที่ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายการเงิน ความสามารถในการรับความเสี่ยง รวมถึงงบประมาณในการลงทุน ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวมที่จะกล่าวถึงจะแยกเป็น 4 รูปแบบ
ข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งของกลยุทธ์นี้ คือ สามารถทำกำไรได้สูงในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็สามารถขาดทุนได้สูงเช่นเดียวกันหากวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด และการมีเงินก้อนจำนวนมากจะทำให้การใช้กลยุทธ์นี้คุ้มค่ามากกว่า เช่น มีเงินลงทุน 500,000 บาท ทำกำไรได้ 10% ได้รับผลกำไร 50,000 บาท ในทางกลับกันมีเงินลงทุน 5,000 บาท ทำกำไรได้ 10% ได้รับผลกำไร 500 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนเงินลงทุนที่แตกต่างกัน ทำให้ได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่ต่างกัน ส่วนกองทุนรวมที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การลงทุนแบบนี้จะเป็นกองทุนรวมดัชนี หรือกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน, ทองคำ เป็น เนื่องจากสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของราคาได้ง่าย
ตัวอย่างผู้ลงทุนตั้งเป้าหมายไว้ว่ามูลค่าแผนการลงทุนที่ปีที่ 10 จะต้องมีมูลค่า 1,000,000 บาท และทุกสิ้นปีจะต้องมีมูลค่าสะสมเพิ่มขึ้น 100,000 บาททุกสิ้นปี
จากตัวอย่างสังเกตได้ว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบ Value Averaging จะให้ความสำคัญกับมูลค่าการลงทุนสะสมในแต่ละช่วงที่กำหนดไว้ หากมูลค่าการลงทุนจริงสูงกว่ามูลค่าการลงทุนสะสมตามกลยุทธ์ จะแนะนำให้ผู้ลงทุนขายออกเพื่อทำกำไรในส่วนเกิน (ปี 2016 และ 2018) หากมูลค่าการลงทุนเท่ากับมูลค่าการลงทุนสะสมตามกลยุทธ์ในช่วงนั้นก็จะไม่ต้องลงทุนเพิ่ม (ปี 2014) และหากมูลค่าการลงทุนต่ำกว่ามูลค่าการลงทุนสะสมตามกลยุทธ์ ผู้ลงทุนก็จะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้มีมูลค่าการลงทุนสะสมตามกลยุทธ์เท่ากับที่ตั้งเป้าหมายไว้ และหากมูลค่าการลงทุนต่ำกว่ามูลค่าการลงทุนสะสมตามกลยุทธ์มาก จะทำให้ผู้ลงทุนต้องลงทุนเพิ่มเป็นเงินก้อนใหญ่ (ปี 2021) ซึ่งอาจจะกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ลงทุนได้
งนั้น กลยุทธ์แบบ Value Averaging จึงเหมาะกับผู้ที่มีสภาพคล่องสูงพร้อมลงทุนเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ และการลงทุนด้วยกลยุทธ์นี้ก็ควรจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มการเติบโตของราคาเพิ่มขึ้นในระยะยาวเช่นกัน
เมื่อมีกลยุทธ์การลงทุนหลากหลาย ผู้ลงทุนต้องประเมินตนเองว่ามีความพร้อมในด้านเงินลงทุน ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง ความรู้ความเข้าใจในการลงทุนว่าเหมาะสมกับกลยุทธ์แบบใด แล้วเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อให้สามารถทำให้ผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ในระยะเวลาที่ตั้งใจไว้ เพราะกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคลนั้นไม่เหมือนกัน แต่กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับทุกคนคือ “กลยุทธ์ที่ผู้ลงทุนเข้าใจและสอดคล้องกับความเสี่ยงที่รับได้” ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการลงทุนได้ตลอดจนจบแผนการลงทุน ส่งผลให้มีโอกาสสูงที่จะบรรลุเป้าหมายการเงินที่ได้ตั้งไว้
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th