โดย พิมพ์ลพัส คงเจริญนิวัติ ที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM
จากนี้ไปโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ที่อยู่กับเราตลอดเหมือนไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก (ข้อมูลอ้างอิงจาก WHO) ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาคมโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) หรือรูปแบบการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from Home ทำให้การทำงานหรือเรียนในรูปแบบ Online เป็นรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ที่เราต้องเจอ และงานด้านสาธารณสุขกลายเป็นวาระสำคัญของโลก เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการแพทย์ ร่วมถึงการจัดระเบียบโลกใหม่ที่จะมีการพึ่งพาภายในภูมิภาคมากขึ้น บทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนที่เร็วขึ้นพร้อมกับวิถีชีวิตที่ยืดหยุ่นมากขึ้น วิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ และส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างชัดเจน เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงมหาศาลขนาดนี้ โลกแห่งการลงทุนในยุคโควิด-19 ย่อมมีผลกระทบตามมาเช่นกัน
ตั้งแต่โควิด-19 แพร่ระบาดทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Recession) ซึ่งส่งผลกระทบทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ภาคธุรกิจใดที่ฟื้นตัวได้เร็ว หรือได้ประโยชน์จากโควิด-19 ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ ทั้งนี้การปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นก็จะผูกเข้ากับสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นเรื่องธรรมดามากที่ตลาดจะมีการผันผวนสูง คำถามคือ เราจะรับมือกับการลงทุนในสถานการณ์นี้ได้อย่างไร ก่อนที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมใดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากโควิด-19 และกลุ่มอุตสาหกรรมใดบริษัทใดที่ปรับตัวได้คือผู้ที่อยู่รอด สำหรับโลกที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล ได้รับแรงผลักดันจากโควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยให้โลกก้าวเข้ายุคดิจิทัลอย่างรวด ดังนั้น บริษัทที่ต้องปรับตัว จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน การลงทุนก็เช่นกัน นักลงทุนต้องปรับตัว โดยสรรหา คัดเลือก กลุ่มอุตสาหกรรม และบริษัท ที่อยู่ “เทรนด์โลก” อุตสาหกรรมใดที่ได้รับผลกระทบเชิงบวก ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาอย่างชัดเจน ดังนั้นนักลงทุนควรการกระจายความเสี่ยงบนเทรนด์ของโลก จึงมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีและปลอดภัยกว่า สำหรับบทความนี้ขอแนะนำตัวชี้วัดการลงทุนอย่างยั่งยืน
วิธีทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ต้องคำนึงถึง การให้น้ำหนักกับการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา ESG เป็นเครื่องมือที่นักลงทุนจากสถาบันการเงินต่างๆ ใช้ประเมินบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ESG คือ กรอบการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง
โดยปัจจัยทั้ง 3 นี้ สามารถชี้วัดความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะยาวของบริษัท ซึ่งแตกต่างจากเดิมในยุคก่อน New Normal ที่ลงทุนมักจะให้ความสนใจเพียง 2 ปัจจัยชี้วัดดั้งเดิมที่บ่งบอกถึงความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์ของบริษัทในระยะสั้นเท่านั้น คือ กำไรและการจัดการความเสี่ยง สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG เป็นแนวคิดในโลกของการทำธุรกิจยุคใหม่ เพราะการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เกิดขึ้น ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม สังคม และไม่ได้ตั้งอยู่อย่างโดดเดียวโดยไม่กระทบต่อโลกภายนอก ธุรกิจสมัยใหม่จึงต้องคำนึงถือผู้มีส่วนได้เสียหลากหลาย ( Multi-Stakeholder) ดังนั้น นักลงทุนควรให้น้ำหนักการลงทุนอย่างยั่งยืน เพราะการลงทุนในบริษัทที่มี ESG ที่ดี จะสามารถจำกัดผลกระทบ และสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างบริษัทและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคม ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสการอยู่รอดและสร้างผลกำไรในระยะยาวได้นั่นเอง
ท่ามกลางความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การคัดเลือกบริษัทที่มี ESG คือ ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการคัดเลือกสินทรัพย์เข้าพอร์ตลงทุน